การให้บริการการทำวิจัยทางคลินิกของประเทศไทย
ประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำในการทำวิจัยทางคลินิกระดับสากล
จำนวนของงานวิจัยทางคลินิกที่ได้ดำเนินการในประเทศไทย จำแนกรายปีและระยะของการทำวิจัย
ดีลอยท์ แอ็กเซส อีโคโนมิกส์ ได้วิเคราะห์ว่า มีการใช้จ่ายประมาณ 10,400 ล้านบาท (320 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 75 (7,800 ล้านบาท หรือ 240 ล้านเหรียญสหรัฐ) ใช้ไปในการทำวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 ในขณะที่การวิจัยระยะที่ 1 นั้นมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด(ประมาณร้อยละ 3 ของค่าใช้จ่ายในการวิจัยทั้งหมด)
มีผู้ป่วยไทยมากกว่า 111,000 คน เข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก ในปี พ.ศ. 2558 และประมาณร้อยละ 36 ของการวิจัยในประเทศไทยได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัทยา โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนคือ 3,940 ล้านบาท (120 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ในปี พ.ศ. 2558 มีการประมาณการว่า มีการจ้างงานโดยตรงโดยเทียบการปฏิบัติงานเต็มเวลา (Full time equivalents: FTEs) คิดเป็นจำนวน 8,905 ตำแหน่ง ในการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย โดยได้รับค่าจ้างประมาณ 4,900 ล้านบาท (150 ล้านเหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้ ยัังมีการจ้างงานเต็มเวลาในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการวิจัยทางคลินิกจำนวน 6,604 ตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น ไปรษณีย์และโทรคมนาคมอุตสาหกรรมกระดาษ และไฟฟ้า 2
ในปี พ.ศ. 2558 การวิจัยทางคลินิกได้สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยประมาณ 8,800 ล้านบาท3 (270 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.05 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทย ในจำนวนนี้ 2,000 ล้านบาท (60 ล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำ
2 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งสามโดยเรียงลำดับตามมูลค่าที่ส่งผลต่อไปยังการวิจัยทางคลินิก
3 ผลกระทบเชิงบวกต่อ GDP ได้มาจากกระบวนการดังนี้คือ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยทั้งหมด (10,400 ล้านบาท) คิดเป็นผลผลิตทางตรง โดยมากกว่ารายได้ที่นำไปสู่ GDP ของประเทศ (8,800 ล้านบาท) ซึ่งเท่ากับสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มโดยรวม (ทั้งจากทางตรงและทางอ้อม) ให้กับประเทศ