เราค้นพบยาใหม่ได้อย่างไร?

การพัฒนายาใหม่เริ่มจากความเข้าใจในอาการของโรคอย่างถ่องแท้เท่าที่จะสามารถทำได้ โดยการวิจัยพื้นฐานจะให้เบาะแสบางอย่างว่าจะรักษาโรคนั้นๆได้อย่างไร รวมทั้งการมุ่งเป้าไปยังอาการหลักหรือสาเหตุรองของโรคนั้น นักวิจัยจะต้องเข้าใจเป้าหมายทางชีวภาพของยาที่ตนจะพัฒนา ซึ่งยาเป้าหมายอาจเป็นโปรตีน RNA DNA หรือโมเลกุลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรค โดยนักวิจัยจะหาสารหลัก (lead compound) ซึ่งหมายถึงโมเลกุลที่จะมีผลต่อเป้าหมายและมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาจนเป็นยาได้

    • เข้าใจกลไกการเกิดโรค
    • ทำการวิจัยพื้นฐานเพื่อให้ได้เบาะแสและแนวทางการรักษาโรค
    • เข้าใจเป้าหมายทางชีวภาพ(Biological Targets) ของยา
    • พัฒนายาจากสารตั้งต้น (lead compound) ซึ่งหมายถึงโมเลกุลที่จะมีผลต่อเป้าหมายทางชีวภาพ และมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาจนเป็นยาได้

อุตสาหกรรมยา นวัตกรรม กับการสร้างเศรษฐกิจและสุขภาพ

บทสรุปผู้บริหาร

การวิจัยทางคลินิกก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจในหลายประเทศ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประตูหลักสู่เอเชียและเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค ประเทศไทยเป็นผู้ให้บริการด้านการวิจัยทางคลินิกที่กำลังเติบโต ฉะนั้น การที่ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งมีนโยบายรัฐให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการวิจัยทางคลินิก จะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะที่จะขยายงานด้านการวิจัยทางคลินิกต่อไปได้เป็นอย่างดี

สถานการณ์ของการวิจัยทางคลินิกในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีความตระหนักมากนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่นประเทศเกาหลีใต้และไต้หวัน ซึ่งต่างประสบผลสำเร็จในการดึงดูดการวิจัยทางคลินิกได้ดีกว่าโดยในช่วงปี พ.ศ. 2553-2558 มีงานวิจัยทางคลินิกในเกาหลีใต้มากกว่า 4,000 โครงการ ในไต้หวันมากกว่า 2,000 โครงการ แต่ในประเทศไทยมีไม่ถึง 1,000 โครงการ (967 โครงการ)

สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ได้มอบหมายให้ บริษัท ดีลอยท์ แอ็กเซส อีโคโนมิกส์ทำการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการทำวิจัยทางคลินิก ทั้งในแง่เศรษฐศาสตร์และสุขภาพอย่างละเอียดและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ คณะทำงานดังกล่าวได้ผสมผสานวิธีเก็บข้อมูลในการวิจัยอันได้แก่ การสำรวจความคิดเห็น การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย

ระเบียบวิธีวิจัย

โดยการสำรวจข้อมูลจากสมาชิกพรีม่า องค์กรวิจัยทางคลินิกและมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานวิจัย ค่าใช้จ่ายในการทำวิจัย จำนวนอาสาสมัคร และหน่วยบริการในประเทศที่เข้าร่วมการวิจัย รวมถึงความท้าทายและโอกาสสำหรับการทำวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมและสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อเป็นการเสริมและยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นพบ รวมทั้ง ได้รับข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ โดยมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงประกอบด้วย ฐานข้อมูลการวิจัยทางคลินิก (clinicaltrials.gov, Thai Clinical Trials Registry)1 หน่วยงานของภาครัฐ(กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) รวมทั้งรายงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์

ผลของการศึกษาวิจัยได้นำไปสู่การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัญหา/อุปสรรค (SWOT Analysis)รวมทั้งการจัดทำข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย

การดำเนินการข้างต้นได้ทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ทั้งในส่วนต้นทุน และประโยชน์ที่ได้ซึ่งประกอบด้วย

  • ผลทางตรงและทางอ้อมทางด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวโดยรวมจะเห็นว่าการวิจัยทางคลินิกทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของหน่วยงานรับทำวิจัยทางคลินิกและภาคธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันทั้งสินค้าและบริการให้กับองค์กรเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การว่าจ้างองค์กรวิจัยทางคลินิก (contract research organisation : CRO) มูลค่าเพิ่มที่ได้ จะไม่ได้มีแค่เพียงมูลค่าทางธุรกิจที่องค์กรวิจัยทางคลินิกได้รับเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรายได้ของสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และบริษัทให้บริการการจัดเก็บข้อมูล ในการเป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการวิจัย
  • มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการผลิตยา บริษัทต่างๆ ลงทุนในการวิจัย โดยหวังว่าในที่สุดแล้วจะมียาใหม่ออกมาสู่ตลาด อย่างไรก็ดี การวิจัยทางคลินิกของยาใหม่นั้นใช้เวลานานและมีต้นทุนสูง ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถนำยาใหม่ออกสู่ตลาดมาได้ ส่วนในกรณีที่สามารถวิจัยพัฒนายาใหม่ออกมาได้ก็มักจะต้องใช้เวลาไปกับกระบวนการในการขอขึ้นทะเบียนจากภาครัฐทำให้เหลือระยะเวลาการคุ้มครองตามสิทธิบัตรที่จำกัดในการที่จะชดเชยต้นทุนที่ใช้ไปในการวิจัยพัฒนายา รายงานวิจัยฉบับนี้ได้ประมาณการมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ในระยะยาวที่เป็นผลมาจากการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558
  • ประโยชน์ด้านสุขภาพ การทำให้สุขภาพดีขึ้นในระยะยาวนั้น ต้องอาศัยยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ๆที่ดีขึ้น และสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในรูปของการวิจัยทางคลินิกประโยชน์ดังกล่าวที่เกิดกับประชากรไทยนั้น ส่วนใหญ่มาจากการวิจัยยาที่ทำทั่วโลก แต่ก็มีบ้างที่เป็นการวิจัยที่เป็นทำในประเทศไทย รายงานฉบับนี้ได้ใช้เทคนิคมาตรฐานกำหนดมูลค่าทางการเงินไปจนถึงจำนวนปีที่ประชากรไทยมีสุขภาพดีจากการวิจัยดังกล่าว

ประโยชน์เหล่านี้ได้มาจากการเปรียบเทียบต้นทุนในการวิจัยทางคลินิกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 โดยใช้กรอบการวิเคราะห์ต้นทุน-ประโยชน์ที่ได้รับ (Cost -Benefit Analysis)

ผลลัพธ์

การวิเคราะห์โดยใช้ SWOT ทำให้พบว่าปัจจัยสำคัญที่สุดในการดึงดูดการลงทุนด้านการวิจัยทางคลินิกมาสู่ประเทศไทยคือ จำนวนประชากรของผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน และแรงงานที่มีทักษะสูงในการทำวิจัยซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวมีอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาอันยาวนานของกระบวนการพิจารณาโดยคณะกรรมการจริยธรรม และกระบวนการอนุมัติใบอนุญาตนำเข้ายาเพื่อการวิจัย กลับกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดต่อการเพิ่มขึ้นของการลงทุนด้านการทำวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย

การวิเคราะห์ SWOT ของการทำวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย

การให้บริการการทำวิจัยทางคลินิกของประเทศไทย

ประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำในการทำวิจัยทางคลินิกระดับสากล

จำนวนของงานวิจัยทางคลินิกที่ได้ดำเนินการในประเทศไทย จำแนกรายปีและระยะของการทำวิจัย

ดีลอยท์ แอ็กเซส อีโคโนมิกส์ ได้วิเคราะห์ว่า มีการใช้จ่ายประมาณ 10,400 ล้านบาท (320 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 75 (7,800 ล้านบาท หรือ 240 ล้านเหรียญสหรัฐ) ใช้ไปในการทำวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 ในขณะที่การวิจัยระยะที่ 1 นั้นมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด(ประมาณร้อยละ 3 ของค่าใช้จ่ายในการวิจัยทั้งหมด)

มีผู้ป่วยไทยมากกว่า 111,000 คน เข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิก ในปี พ.ศ. 2558 และประมาณร้อยละ 36 ของการวิจัยในประเทศไทยได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัทยา โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนคือ 3,940 ล้านบาท (120 ล้านเหรียญสหรัฐ)

ในปี พ.ศ. 2558 มีการประมาณการว่า มีการจ้างงานโดยตรงโดยเทียบการปฏิบัติงานเต็มเวลา (Full time equivalents: FTEs) คิดเป็นจำนวน 8,905 ตำแหน่ง ในการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย โดยได้รับค่าจ้างประมาณ 4,900 ล้านบาท (150 ล้านเหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้ ยัังมีการจ้างงานเต็มเวลาในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการวิจัยทางคลินิกจำนวน 6,604 ตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น ไปรษณีย์และโทรคมนาคมอุตสาหกรรมกระดาษ และไฟฟ้า 2

ในปี พ.ศ. 2558 การวิจัยทางคลินิกได้สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยประมาณ 8,800 ล้านบาท3 (270 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.05 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทย ในจำนวนนี้ 2,000 ล้านบาท (60 ล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำ


2 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งสามโดยเรียงลำดับตามมูลค่าที่ส่งผลต่อไปยังการวิจัยทางคลินิก

3 ผลกระทบเชิงบวกต่อ GDP ได้มาจากกระบวนการดังนี้คือ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยทั้งหมด (10,400 ล้านบาท) คิดเป็นผลผลิตทางตรง โดยมากกว่ารายได้ที่นำไปสู่ GDP ของประเทศ (8,800 ล้านบาท) ซึ่งเท่ากับสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มโดยรวม (ทั้งจากทางตรงและทางอ้อม) ให้กับประเทศ

ผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์

จากประมาณการวิจัยทางคลินิกที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2558 ทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของการผลิตยาในอนาคตมากพอที่จะก่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 4.2 ตามมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน กล่าวคือ มูลค่าทางเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นร้อยละ 104.2 ของต้นทุนรวมในการวิจัยทางคลินิกในปัจจุบัน (ทั้งการวิจัยที่ประสบความสำเร็จและที่ไม่ประสบความสำเร็จ) คาดกันว่า การวิจัยทางคลินิกที่ดำเนินการในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 จะทำให้ยาที่ผลิตได้มีผลตอบแทนสุทธิด้านเศรษฐศาสตร์ ถึง 436 ล้านบาท (13.4 ล้านเหรียญสหรัฐ)

ผลกระทบต่อประชากรไทย

การวิจัยทางการแพทย์ยังช่วยให้ภาวะความเจ็บป่วยและอัตราการตายในประเทศลดลง ซึ่งประมาณการคร่าวๆ ระบุว่า การวิจัยทางการแพทย์สามารถลดอัตราตายและอัตราการเกิดโรคในประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผลช่วยลดภาระจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บลงได้ครึ่งหนึ่งต่อปี จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า การวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกสามารถลดความสูญเสียจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและจากโรคภัย (Disability Adjusted Life Year – DAYSs)ของประเทศไทยได้ 3.01 ล้าน DALYs ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง ในปี พ.ศ. 2558

เนื่องจากการทำวิจัยทางคลินิกคิดเป็นร้อยละ 75 ของการวิจัยทางการแพทย์ จึงประมาณได้ว่า การทำวิจัยทางคลินิกทั่วโลก ช่วยลดความสูญเสียจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและจากโรคภัยในประเทศไทยได้ 2.26 ล้าน DALYs หรือ คิดเป็นการลดลงของความสูญเสียดังกล่าวได้ 8,326 DALYs จากการทำวิจัยทางคลินิกเฉพาะในประเทศไทย

มูลค่าทางการเงินของการอยู่อย่างมีสุขภาวะส่วนที่สืบเนื่องมาจากการวิจัยทางคลินิกในประเทศอาจประมาณการได้โดยใช้มูลค่าทางตลาดของปีสุขภาวะในประเทศไทย (1.8 ล้านบาท หรือ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งมูลค่าสุทธิของประโยชน์ด้านสุขภาพที่คาดหวังโดยรวมในปัจจุบันอันเกิดจากการวิจัยทางคลินิกที่ดำเนินการในประเทศไทยในใ นปี พ.ศ. 2558 โดยประมาณคือ 10,500 ล้านบาท (320 ล้านเหรียญสหรัฐ)

Policy recommendations

During consultations, key stakeholders considered that the main reason Thailand had been obtaining a decreasing share of regional multinational trials was the need for regulatory reform. In particular, Thailand needs to reduce regulatory review and approval timelines. Participants were universally willing to pay higher registration fees to achieve this outcome. There is also a pressing need for more accredited trial sites in the rural areas which are home to large treatment-naïve populations, one of Thailand’s key advantages.

Based on the experiences of Taiwan, Korea and Singapore after they streamlined their regulatory processes, Deloitte believes it should be possible for Thailand to achieve similar growth rates in numbers of multinational trials as its regional competitors. Some five years after reforming their clinical trials regulations, each of these countries were receiving around twice as many international trials as they had had five years before the reforms. Similarly Thailand’s competitors (those nations plus Vietnam, Malaysia, Cambodia, and the Philippines) have experienced combined average growth rates in international trials around one third higher than Thailand has over the five years to 2015.If Thailand streamlined its regulatory processes, like its competitors, it should be feasible to increase total trials in Thailand by around 20%, with an attendant increase of some ฿3.9 billion (USD 0.1 billion) annually in net benefits.

Overall, Thailand is in a good position for fostering new growth in the market for clinical trials and clinical research. However, the current status of the industry suggests that the underlying benefits for conducting clinical research in Thailand are not being fully realized. In order to realize these benefits, it is recommended that Thailand:

1. Address regulatory efficiencies to make Thailand more competitive.

  • i) Increase number regulators and capacity building programs with international partners.
  • ii) Centralize IRB and approval Boards.
  • iii) Eliminate customs tariff for medicines used in Clinical Trials.
  • iv) Increase the number of accredited trial sites and skilled workers, particularly in rural areas.

2. Prioritize innovation enhancement policies that promote clinical research.

  • i) R&D and innovation policies adopted and coordinate intra-ministerially among MOPH MoST MoE, and MoC.
  • ii) Increase promotion of clinical trial capacity of Thailand domestically and overseas.
  • iii) Development of annual clinical research in biopharmaceutical index to measure progress.

3. Implement sustained reforms by creating an inclusive multidisciplinary National Clinical Research Task Force to establish a detailed roadmap for the clinical research development in Thailand.

As shown by Wong (2011)4, implementation of such recommendations can bring about marked increases in clinical trial activities, particularly in the early stage clinical trials and R&D where opportunities to value add are greatest.

ผลกระทบของการทำวิจัยทางคลินิกต่อเศรษฐกิจและสุขภาพของประเทศไทย

 

การสอดประสานของกฎระเบียบด้านยาเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาและอุตสาหกรรมยา รวมถึงส่งผลที่ดีต่อการคุ้มครองผู้บริโภค ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้าในบทความเรื่องคุณภาพถึงแนวทางต่างๆของ ICH ซึ่งจัดทำขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมีคณะทำงานด้านวิชาการมาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีความพยายามผลักดันให้ลดความแตกต่องของกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติในการรายงานและประเมินข้อมูลด้านความปลอดภัย คุณภาพและประสิทธิภาพของยาใหม่ ทั้งนี้เพราะความแตกต่างดังกล่าวก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทดลองที่ยาวนานและค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ล่าช้า

กระบวนการของ ICH ป็นการปรับปรุงให้กระบวนการในการประเมินคำขอขึ้นทะเบียนยามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อนของการทำวิจัยในมนุษย์ ทำให้การทดลองในสัตว์น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นโดยยังคงความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา จึงเป็นการทำงานที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การสอดประสานกันของกฎระเบียบด้านยานี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่มีคุณภาพสูงได้เร็วขึ้น ทั้งนี้มาตรฐานของ ICH ได้รับการยอมรับว่าจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของคนทั่วโลกในมาตรฐานสากล